สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 14-20 มีนาคม 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3)โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,665 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,638 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,255 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,845 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.23
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 25,770 บาท ราคาลดลงจากตันละ 25,950 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.69
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,570 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,610 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.32
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 759 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,140 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 766 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,133 บาท/ตัน)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.91 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 7 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 422 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,978 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 420 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,780 บาท/ตัน)  ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.48 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 198 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 428 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14,177 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 417 ดอลลาร์สหรัฐฯ (13,682 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.64 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 495 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.1230 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เมียนมา
สื่อทางการเมียนมารายงานว่า สหพันธ์ข้าวเมียนมา (MRF) กำลังดำเนินงานเกี่ยวกับการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มจากแกลบและรำข้าว
สหพันธ์ฯ ระบุว่า โครงการผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มจากผลพลอยได้ของข้าวจะดำเนินงานร่วมกับเจ้าของโรงสีข้าว โดยสหพันธ์ฯ จะใช้แกลบช่วยผลิตไฟฟ้า และรำข้าวผลิตน้ำมันรำข้าว ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ครอบคลุมธุรกิจน้ำมันสำหรับการบริโภค การผลิตพลังงานหมุนเวียน และการผลิตอาหารสัตว์
เมียนมา อะกรีบิสิเนส คอร์เปอเรชัน (Myanmar Agribusiness Public Corporation) ของสหพันธ์ฯ
ได้ดำเนินโครงการนำร่องผลิตพลังงานด้วยแกลบในสองเมืองท้องถิ่น ขณะเดียวกันมีการดำเนินโครงการนำร่องผลิต
น้ำมันรำข้าวด้วยเทคโนโลยีการสกัดด้วยตัวทำละลายการกลั่นด้วยวิธีทางกายภาพ
โดยสหพันธ์ฯ ระบุเพิ่มเติมว่า มูลค่าการผลิตรายปีของอุตสาหกรรมข้าวสูงประมาณ 3.94 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 1.3 แสนล้านบาท) โดยสหพันธ์ฯ ขับเคลื่อนเพิ่มมูลค่าสินค้าในประเทศ รวมถึงมีการลงทุนและการค้า สำหรับการผลิตและการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าภายในประเทศดังกล่าว จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจของประเทศ
ที่มา: xinhuathai
รัสเซีย
รัสเซียสั่งระงับการส่งออกธัญพืชไปยังกลุ่มประเทศอดีตสมาชิกสหภาพโซเวียตเป็นการชั่วคราว รวมถึงการส่งออกน้ำตาลเป็นส่วนใหญ่ ด้านเจ้าหน้าที่ระดับสูงกล่าวว่า รัสเซียจะยังคงให้สิทธิ์เทรดเดอร์ที่ได้รับโควตาอยู่ในขณะนี้เป็นกรณีพิเศษ
นายมิคาอิล มิชูสติน นายกรัฐมนตรีรัสเซีย ได้ลงนามในคำสั่งห้ามส่งออกน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายดิบจนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565 และห้ามส่งออกข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวบาร์เลย์ และข้าวโพด ไปยังประเทศสมาชิกของสหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU) โดยมีผลจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา รัสเซียแสดงความกังวลเกี่ยวกับการส่งออกธัญพืชไปยังประเทศอดีตสหภาพโซเวียต
ซึ่งอยู่ในเขตปลอดภาษีภายใต้กรอบความร่วมมือ EAEU โดยสินค้าที่ส่งอออกไปยังสหภาพ EAEU ไม่ได้เข้าข่ายโควตาการส่งออกธัญพืชและภาษีในปัจจุบันของรัสเซีย
          แถลงการณ์ของรัฐบาลระบุว่า รัสเซียนำมาตรการดังกล่าวมาใช้เพื่อป้องกันตลาดอาหารในประเทศซึ่งเผชิญกับข้อจำกัดจากปัจจัยภายนอก
          อย่างไรก็ดี รัฐบาลรัสเซียไม่ได้กล่าวถึงใบอนุญาตการส่งออกในแถลงการณ์ แต่ระบุว่า การขนส่งลำเลียงธัญพืชจากต่างประเทศผ่านทาง EAEU จะยังคงทำได้
          ทั้งนี้ รัสเซียเป็นผู้ส่งออกข้าวสาลีรายใหญ่สุดของโลก โดยมีอียิปต์และตุรกีเป็นประเทศผู้นำเข้าหลัก และรัสเซียยังเป็นคู่แข่งการส่งออกข้าวสาลีกับสหภาพยุโรป (EU) และยูเครน
          ที่มา: ryt9
ยูเครน
นายกฯ ยูเครน เผยเตรียมจัดตั้งคลังสำรองอาหารรับมือการรุกรานของรัสเซีย
นายกรัฐมนตรีเดนิส ชไมฮาล แห่งยูเครน ได้ออกมาเปิดเผยว่า รัฐบาลยูเครนจะจัดตั้งคลังสำรองอาหาร เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน และกองทัพในช่วงที่ต้องเผชิญกับการรุกรานของรัสเซีย
"ยูเครนจะจัดซื้อธัญพืชและอาหารชนิดอื่นๆ เพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคตลอดทั้งปีของประชาชนทั้งประเทศ โดยใช้งบประมาณภาครัฐ" นายชไมฮาลกล่าว แต่ไม่ได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติม
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ยูเครนเป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารรายใหญ่ของโลก แต่นักวิเคราะห์ด้านกสิกรรมระบุว่า การรุกรานของรัสเซีย ซึ่งรัสเซียยืนกรานว่าเป็น "ปฏิบัติการพิเศษ" นั้น อาจลดพื้นที่เพาะปลูกธัญพืชสำหรับปี 2565 จนนำไปสู่ภาวะขาดแคลนทั่วโลก รวมถึงยูเครนด้วย
รัฐบาลยูเครนเปิดเผยว่า เหล่าเกษตรกร ซึ่งปกติแล้วจะเริ่มเตรียมการเพาะปลูกประจำฤดูใบไม้ผลิในช่วง
ปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคม จะเริ่มต้นหว่านเมล็ดพืชในพื้นที่ปลอดภัย แต่อาจเผชิญภาวะขาดแคลนเชื้อเพลิงและเมล็ดพืช
           ที่มา: ryt9
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.83 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.27 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.32 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.27 บาท ของสัปดาห์ก่อน
ร้อยละ 0.69
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.61 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.79 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.41 บาท สัปดาห์ก่อนไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 384.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,713.00 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 394.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,940.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.54 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 227.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนเมษายน 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 742.00 เซนต์ (9,805.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 752.00 เซนต์ (9,843.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.33 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 38.00 บาท


 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.179 ล้านไร่ ผลผลิต 34.691 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.408 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.406 ล้านไร่ ผลผลิต 35.094 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.372 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต ลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 โดยเดือนมีนาคม 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 6.494 ล้านตัน (ร้อยละ 18.72 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.48 ล้านตัน (ร้อยละ 59.04 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดมากและคุณภาพดี  สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.32 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.25 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 3.11
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.60 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.34 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 2.33
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ7.75 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.65 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 1.31
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.18 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.13 บาทในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.33
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 260 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,680 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (8,570 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,350 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (16,150 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมีนาคมจะมีประมาณ 1.709 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.308 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.019 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.183 ล้านตันของเดือนกุมภาพันธ์ คิดเป็นร้อยละ 67.71 และร้อยละ 68.31  ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 9.45 บาท ลดลงจาก กก.ละ 9.68 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.38
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 54.08 บาท ลดลงจาก กก.ละ 54.15 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.13
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
 
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 6,518.17 ดอลลาร์มาเลเซีย (52.53 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 7,428.16 ดอลลาร์มาเลเซีย (59.54 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 12.25              
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,816.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (60.91 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,948.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (64.75 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 6.78
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         
ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
         โรงงานน้ำตาลในอินเดียลงนามในสัญญาส่งออกในปี 2564/2565 ไปแล้ว 6.3 ล้านตัน และกำลังลงนามในสัญญาฉบับใหม่ทุกสัปดาห์ ตามการรายงานของหัวหน้าสมาคมโรงงานน้ำตาลของอินเดีย ISMA โดยคาดว่าอินเดียจะส่งออกน้ำตาลรวม 7.5 ล้านตัน ในฤดูกาล 2564/2565 และคาดว่าจะผลิตน้ำตาลได้ 33.3 ล้านตัน ในขณะที่ยังเร็วเกินไปที่จะคาดการณ์มรสุมและการเก็บเกี่ยวของปี 2565/2566
          รัฐบาลรัสเซียสั่งห้ามการส่งออกธัญพืชและน้ำตาลอย่างเป็นทางการจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน และ 31 สิงหาคม ตามลำดับ เพื่อรับประกันว่าจะมีอุปทานเพียงพอหลังจากการรุกรานยูเครน อย่างไรก็ตามรัฐบาลรัสเซียจะยังคงให้ใบอนุญาตส่งออกได้ ในการตอบโต้อุซเบกิสถานกล่าวว่า คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากตั้งข้อสังเกตุว่าผลผลิตในท้องถิ่นบวกการนำเข้าน้ำตาลทรายดิบน่าจะเพียงพอต่อการหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดแคลนได้




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ กิโลกรัมละ 20.30 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 20.00 บาท ในสัปดาห์ ที่ผ่านมาร้อยละ 1.50
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,666.28 เซนต์ (20.53 บาท/กก.)ลดลงจากบุชเชลละ 1,691.12 เซนต์ (20.65 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.47
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 487.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.33 บาท/กก.)ลดลงจากตันละ 490.54 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.31 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.72
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 74.58 เซนต์ (55.13 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 80.19 เซนต์ (58.75บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 7.00


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว
 
 

 
ถั่วลิสง

 

 
ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 121.18 เซนต์(กิโลกรัมละ 89.61 บาท) เพิ่มขึ้นจากปอนด์ละ 118.05 เซนต์ (กิโลกรัมละ 86.51 บาท) ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 2.65 (เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 3.10 บาท)

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,728 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,797 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,496 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,523 บาทคิดเป็นร้อยละ 1.78 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,005 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  87.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 87.98  คิดเป็นร้อยละ 0.08 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 85.86 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 85.21 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.10 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 83.43 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,900 บาท สูงขึ้นจาก ตัวละ 2,700 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.50 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 84.30 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.80 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 40.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 40.30 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.25 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 32.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 41.03 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.26 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 52.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดมีน้อยกว่าความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 306 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 298 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.73 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 311 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 296 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 309 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.40 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.32 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.40 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 364 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 362 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.42 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 383 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 376 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 336 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 378 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.65 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 99.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 99.31 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 95.90 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 102.43 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.62 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 109.29 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 80.63 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.25 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 78.97 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน
 
 
 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 14 – 20 มีนาคม 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
 2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.32 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 62.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.93 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลงเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.68 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 81.01 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.67 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 166.30 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคค่อนข้างคงที่
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 161.67 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 66.36 บาท ราคาลดลงเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 66.37 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้และราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.56 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา